protect plus ตั้งใจทำเต็นท์คลุมรถ เพื่อการปกป้องรถของคุณให้ได้อย่างดีที่สุด มาตั้งแต่ปี2553 ปัญหาส่วนหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาหลัก คือเรื่องของแสงแดดและความร้อน เรื่องนี้เราพัฒนามาตั้งแต่ปี 2560 เราได้เริ่มทำออฟชั่นเสริมสำหรับผ้ากันร้อนอย่างต่อเนื่อง
ในเจนฯแรก เริ่มจากการใช้ผ้าที่เคลือบแผ่นฟอยล์กันความร้อน ซึ่งผลจากการทดลองใช้ ภายในเต็นท์แทบไม่มีความร้อนเลย สามารถความร้อนได้อย่างดี แต่ทางโรงงานได้หยุดผลิตผ้าชนิดนี้ไปแล้ว ทางเราจึงเปลี่ยนรูปแบบในการกันความร้อนเจนฯถัดมา
เจนฯถัดมา จึงได้เปลี่ยนเป็นฉนวนกันความร้อน ประกบด้วยผ้าขึ้น ได้แรงบันดาลใจมาจากงานที่เคยทำ สมัยผมอายุ 19 ได้เคยทำงานผลิตห้องเย็นแห่งหนึ่ง ราวๆปีพ.ศ. 2539 เป็นบริษัทออกแบบห้องเย็นและผลิตระบบทำความเย็นด้วยแผ่น iso wall ซึ่งเป็นลักษณะ แผ่นโลหะ+ฉนวนในแบบต่างๆ+แผ่นโลหะ และนำไปใช้สร้างห้องเก็บความเย็นในรูปแบบต่างๆ
ดูกันขำๆนะ สมัยนั้นอายุ19เอง ทำงานกับหัวหน้าฝรั่ง ชื่อพี่จิมมี่ แต่ทั้งหมดได้แยกตัวไปทำกิจการเป็นของตนเองหมดแล้ว
หน้าตาแผ่น iso wall คือแบบนี้ จะมีความแตกต่างคือฉนวนที่ใช้ สีขาวโฟมธรรมดา สีเหลืองเป็นAB และเป็นวัสดุกันความร้อนอื่นๆที่ไม่ลามไฟ ราคาก็แพงขึ้นไปตามคุณสมบัตินั้นๆ
การนำแผ่นมาทำห้อง ประยุกต์เป็นห้องทำงาน
จากนั้นเราได้ทดลองนำแผ่นiso wall มาใช้ทำห้องในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างนี้คือการทำบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุหลบภัยหนาวหลังแรกในภาคอีสาน เพราะคุณสมบัติคือกันความร้อน เก็บความเย็น หรือกลับกัน กันความเย็น เก็บความร้อน ก็ทำได้
ก่อนที่กล่าวถึงงานผ้าเต็นท์ 3 layer นะครับ ขอเริ่มด้วยแนวคิดที่มาของฉนวนกันความร้อนกันก่อน จากการที่ผมคลุกคลีกับฉนวนกันความร้อนลักษณะนี้ เข้าสู่การประยุกต์ใช้ โดยเริ่มจากการสร้างบ้านเพื่อภารกิจหลบภัยหนาว บอกก่อนว่า บ้านหลังนี้สร้างให้ป้าผมอยู่นะครับ พอจะจำกันได้มั้ย ว่ามีอยู่ปีนึงที่ภาคอีสานเกิดภัยหนาว หนาวที่สุดในประวัติการ หนาวชนิดที่ทำให้คนสูงอายุตายราวใบไม้ร่วง ด้วยความเป็นห่วงจึงขนแผ่น iso wallขึ้นไปสร้างที่อีสาน ว่าแล้วก็ลงมือทำกันเลย เริ่มจากการเทพื้นยกสูง 2อิฐบล๊อกก่อน ฐานนี่ก็ไม่ต้องอะไรมาก ไม่ต้องตอกเสาเข็มให้วุ่นวายเพราะบ้านไม่ได้หนักเลย แค่คานคอดินแบบนี้เอาอยู่ครับ เมื่อพื้นที่เซ็ทตัวดีแล้ว
เราก็ตีคอกฐานยึดแผ่น เป็นอลูมิเนียมตัวU จะทำขนาดเท่าไหร่ก็วัดแล้วจัดไปเลย และซื้อหน้าต่างประตูสำเร็จรูป มาประกอบใช้ร่วมกัน ตรงนี้ต้องวัดขนาดดีๆ ผมเลือกใช้แผ่นiso wall ที่มีความหนา 4 นิ้ว จะพอดีขอบกระจกประตู
เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว จากนั้นก็ตีเส้นเฉียงจากหน้าบ้านไปท้ายบ้าน แล้วตัดทิ้ง เพื่อวางหลังคา น้ำฝนจะได้ไหลลงไปทางด้านหลัง ออกแบบเป็นเพิงหมาแหงน ที่ผลักหลังคาให้มาทางขวามากหน่อยเพราะข้างล่างเป็นที่นั่งเล่น ไม่ชอบความสมมาตร ก็สนุกดีนะครับ สังเกตนะครับไม่มีโครงสร้างเหล็กใดๆ เพราะตัวผนังคือโครงสร้างอยู่แล้ว
ตัวบ้านสามวันเสร็จเรียบร้อยครับพร้อมอยู่ และหลังคาเนี่ยขึ้นไปนั่งเล่นเตะบอลได้นะไม่มีหัก แผ่นแต่ละแผ่นจะมีล๊อกของเขาอยู่ และประกบขอบแผ่นด้วยอลูมิเนียมอีกทีหนึ่งก็แข็งแรงแล้ว
เรียบร้อยพร้อมอยู่ เป็นบ้านพักเวลาขึ้นมาหาป้าที่อีสาน นอนนี่ล่ะนะ เงาดำๆนั่นไม่ต้องบอกนะว่าใคร
เปิดตัวบ้านใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ตามประเพณีอีสาน เป็นที่ฮือฮามาก เพราะทุกเสียงพูดเหมือนกันหมด "บ้านเจ้าคือไม่ฮ้อน" อ่ะครับก็แน่ล่ะ เพราะนี่คือฉนวนกันความร้อนอย่างไรเล่า ถ่ายเป็นวีดีโอให้ดูแล้วกันนะครับ ความร้อนของผนังด้านนอก ความร้อนของผนังด้านใน และอุณภูมิภายในห้อง
สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายนอกและภายในได้ราวๆ 10องศา และในหน้าหนาว ก็สามารถกันหนาวได้ เพียงมีอุปกรณ์ที่มีความร้อนเพียงเล็กน้อยก็อยู่ในบ้านได้อย่างสบาย เอาล่ะจบไปนะครับสำหรับเรื่องราวความเป็นมา
ผมจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวด้านบนผมจึงมาปรับใช้กับเต็นท์คลุมรถด้วยการใช้ผ้า3 layer ขึ้น ประกอบไปด้วย ผ้าชั้นแรกเป็นผ้าเคลือบพลาสติกเป็นผิวนอก ชั้นที่สองโฟมความหนา 3 มิล ชั้นที่ 3 เป็นผ้าซับในซึ่งเป็น420pu ซึ่งรุ่นแรกๆผ้าผิวนอกจะใช้ผ้า420pu ธรรมดานะครับ แต่ในเวอร์ชั่นปัจจุบันคือใช้ผ้าใบทูโทน2สีลดร้อน+ฉนวน+ผ้า420pu เป็นผ้าซับใน
ในส่วนของผ้า3 layerนี้ เป็นออฟชั่นเพิ่มนะครับ ไม่ได้รวมในแพคเกจราคามาตรฐานครับ เต็นท์คลุมรถมาตรฐานผมจะใช้ผ้าธรรมดาคือผ้าใบทูโทน2สีลดร้อนกันuv โอเครตามนี้นะ สองรูปนี้แสดงถึงผ้าที่เราเริ่มใช้ สีดำคือผิวนอก แกนกลาง ผ้าด้านใน ส่วนขวามือสีกรมนั้นเป็นหลังทำพิเศษ 4 layer และเป็นเต็นท์ในตำนานด้วย มีแค่หลังเดียวในประเทศไทย เพราะลูกค้าต้องการกันร้อนสูงสุด ตั้งกลางแจ้งด้วย หนาและหนักมากครับ ต้องอัพเกรดช๊อคอัพเพิ่มอีก10กิโล และทำยากมากด้วย เลยสรุปทำแค่1หลังพอแล้ว รูปเมื่อทำเสร็จลงท้ายๆบทความนะครับ
ก่อนที่จะทำขายเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันเราก็ได้ทดสอบทดลองกันหลายครั้ง และได้ก็ได้สอบถามความคืบหน้าในการใช้งานจากลูกค้าอยู่เสมอๆเพื่อพัฒนารุ่นต่อๆไปให้ดีที่สุด ความหนาแผ่นฉนวนพอมั้ย กันน้ำเป็นอย่างไร ฯลฯ เต็นท์เหล่านี้คือการสร้างในรุ่นแรกๆของเราครับ
เริ่มจาก เต็นท์คลุมอัลพาร์ตกลางแจ้ง สีดำ โจทย์นี้ หลังใหญ่ สีดำดูดความร้อน ทำไงกันดี? ค่อยๆเริ่มกันไปทีละstep หลังนี้คือทรงmpv คานแบบตัดตรงผสมคานโค้ง เห็นความหนาของผ้ามั้ยครับ หนามาก เกือบยกไม่ขึ้น แต่ต้องขอบคุณช๊อคอัพคุณภาพเยอรมันที่เราได้ทำเผื่อน้ำหนักไว้ เปิดได้สบาย เอาอยู่ พร้อมโครงสร้างเหล็กbsmของผม ถ้าไม่แข็งแรง รับน้ำหนักผ้าแบบดับเบิ้ลผ้าแบบนี้ไม่ได้ครับ
เมื่อปิดแล้ว สวยงามเข้ารูป รูปทรงตึงเปรี้ยะ เพราะเราออกแบบมาดี เทียบขนาดดูเล่นเอาหัวกระบะเหลือคันนิดเดียวครับเพราะหลังนี้ใหญ่มาก ยาว 6.75 เมตรเลยนะครับ
ด้านข้างยิ่งสง่างาม ทรงดูใหญ่แต่ลู่ลม ผสานทรงโค้งและเหลี่ยม เท่ห์มาก ตรงนี้คือกลางแจ้งนะครับ และเป็นช่องลมผ่านด้วย ที่สำคัญหลังนี้ไม่ได้ยืดพุกใดๆเลยนะครับ ลูกค้าบอกเผื่อขยับย้ายที่ ผมล่ะเสียวๆทุกครั้งที่พายุเข้าก็มักจะไลน์ไปสอบถาม เจ้าของบ้านนั่งดูตอนพายุเข้ามองผ่านกระจก ตอบกลับมาว่า มันแทบไม่กระดิกเลยนะ สบายๆ เต็นท์ผมคือนิ่งๆเพราะน้ำหนักโครงสร้างและผ้ารวมกันเกือบสองร้อยกิโล ปัญหาต่อมาความดำ มันจะดูดความร้อนกว่าปกติ แต่หลังจากที่เราทำเป็นฉนวน ภายในไม่ร้อนเลย ลูกค้าแฮปปี้ผมก็แฮปปี้ พร้อมหน้าต่างบานใหญ่มาก ผมออกแบบเพื่อให้โฟร์ลม แต่หลังนี้ไม่มีประตูลูกค้าไม่ต้องการครับ ก็จบงานนี้กันไปสวยๆ
และเราก็ได้ทำเต็นท์กันร้อนขนาดมหึมาขึ้นมาอีกหลายหลัง ทรงรุ่นใหม่ๆเป็นทรงโค้งทั้งหมดเพื่อกระดกเปิดค้างไว้ ชนิดไม่ต้องกลัวใดๆอีก เพราะน้ำฝนจะไหลออกตามโค้งเอง แต่ทรงโค้งทั้งหมดนี้ผมจะหดช่วงประตูให้สั้นลง เพราะเมื่อเราดัดโค้งแล้วมันจะได้ความยาวขึ้นอีก25cm รวมหน้าหลังก็50cm แต่ยาวรวมคือ 6.75 เท่าเดิมครับ ใช้ฉนวน3layerเหมือนเดิม ซึ่งสามารถปกป้องความร้อนจากแดดได้เป็นอย่างดี
บ้านหลังนี้ที่นครปฐมสั่งเต็นท์mpv แบบเดียวกัน 2หลัง สำหรับจอดรถสปอร์ตเปิดประทุนหลังคาผ้า ซึ่งก็ตากแดดทุกวันไม่ได้ หนำซ้ำพื้นก็เป็นหินบดอีก มีฝุ่นมารบกวนเพิ่มเข้าไปอีก เอาให้เต็มที่ครับ และที่บ้านก็ไม่มีโรงจอดรถหลังคาแข็งหรือร่มเงาใดๆด้วย ผมต้องรีบทำให้ แต่เห็นว่าจะสร้างหลังคาครอบไว้อีกทีนะครับ ก็จะยืดอายุการใช้งานให้ยาวขึ้นไปอีก
ตั้งหน้าบ้านและหลังบ้านอย่างละหลังครับ เต็นท์หลังนี้ตั้งอยู่หลังบ้านเป็นบ้านสวน ปลูกผักและต้นไม้เยอะมาก เน้นมากคือการกันหนู แต่หลังนี้โชคดีหน่อยที่มีอะไรบดบังไว้อีกชั้น อายุการใช้งานก็จะนานขึ้น
หลังนี้ก็ใช้เทคนิคกันความร้อนด้วย 3 layer เช่นเดียวกัน ลูกค้าจะอัพเกรดออฟชั่นแบบนี้เพื่อจะจัดการกับปัญหาแบบนี้นะ เริ่มจาก โรงจอดรถไม่เพียงพอ หลังคาสั้นไป แทบไม่มีประโยชน์ เพราะจะจอดรถใหญ่ เต็นท์ผมจึงต้องใหญ่ตาม ล้นทะลักมาโดนแดดเต็มๆเลยทีนี้ ทางเจ้าของเต็นท์เลยคิดการล่วงหน้ากันไว้ก่อน ต้องไม่ร้อน หลังนี้ผ้าที่ใช้ผิวนอกเป็นแบบเคลือบพลาสติกใสนะ ซึ่งราคาแพงมาก แต่มันก็มีผิวนอกที่สวยมากเช่นกัน glossy แวววาวกันไปเลย
ด้านในเป็นแบบนี้ครับ รูปนี้ยังไม่ได้เก็บงานนะ เสายังไม่ได้รัด กันหนูยังไม่ได้ยึด แค่ถ่ายให้ดูสีของผ้าด้านนอกและด้านในต่างกัน ด้านในเลือกใช้สีกรม ด้านนอกเลือกใช้สีน้ำเงิน หลังนี้ต้องการประตูหน้าต่าง เราจัดให้ได้เพื่อการเข้าออกได้อย่างสบาย แต่ฉนวนกันความร้อน จะมีให้เฉพาะด้านบนหลังคานะครับ ด้านข้างไม่มี แต่หลังนี้ดับเบิ้ลผ้าด้านข้างให้เพื่อความสวยงาม เป็นโทนเดียวกัน
ประตูและหน้าต่างเราเปิดใช้งานได้แบบนี้ งานสั่งทำครับ รอนานหน่อยแต่สวยสมใจ การันตรีได้จากรายการนักประดิษฐ์พันล้านเลยนะ เขาเชิญไปออกไม่ได้จ้างรายการมาถ่ายทำ รายการนี้ไปสองครั้งนะบอกเลย 2 สิ่งประดิษฐ์ แต่ไม่ซื้อผมสักอย่าง!!
หลังนี้มีเรื่องเล่านะ เต็นท์หลังนี้เก็บรถ cx8 ซึ่งตอนที่ลูกค้าสั่งเต็นท์ รถยังไม่ออกมาวิ่งสักคันครับโชว์รูมยังไม่มีเลย มีแต่โบชัวในกระดาษ ตอนนั้นได้สั่งเต็นท์ทรง sup's car เพื่อที่จะใส่คันนี้ล่ะ แต่ด้วยชักไม่แน่ใจเรื่องขนาด เห็นมีขนาดเทียบเท่า ppvอย่างปาเจโรสปอร์ต แค่เตี้ยกว่า10cm ผมก็เกรงว่าจะใช้งานไม่สบาย แต่ผมมีลูกค้าเจ้านึงสั่งทรงsup's carไป และมีรถปาเจโรสปอร์ตด้วย เลยรบกวนให้ลองเสียบดู สรุปว่าเต็นท์ทรง sup's car ใส่ได้แฮะ แต่ปิดแบบฉิวเฉียด เพื่อความสบายใจ อัพเกรดเลยดีกว่า ใหญ่ไว้ก่อน ตัดสินใจกัน3วัน เพราะเผื่ออนาคตมี mpv จะได้ไม่ต้องซื้อเต็นท์เพิ่มเติมกันอีกหลัง เพราะลูกค้าเคยมีประสบการณ์แย่ๆก่อนหน้าซึ่งเป็นอีกเจ้านึง ตามที่ลูกค้าเล่าให้ฟังนะ เมื่อประมาณมาณ 3ปีก่อนหน้านี้ เคยสั่งเต็นท์เจ้านึงมาใช้ ตอนนั้นทางลูกชายได้เคยโทรมาถามผมแต่คิวผมต้องรอประมาณ3เดือนได้มั้งนะ โหมันก็นานมากเลยล่ะ และเจ้าตัวต้องรีบไปทำธุระต่างประเทศ แต่ได้ฝากเรื่องกับทางคุณพ่อไว้ อ่ะทีนี้ก็เป็นเรื่องของคุณพ่อประสานงานต่อ ก็ได้สั่งมาแล้วส่งมาผิดรุ่นใส่ไม่ได้ มารอบสอง อ่ะเปลี่ยนใหม่ มันก็ใช้ลำบากไม่ต่างจากเดิม หลังคารถนี่ผ้าเสียดสีจนหลังคาเป็นรอยหมด ผ้าแบบนั้นยิ่งตากแดดยิ่งแข็งนึกออกมั้ยครับ แล้วก็บอกผ้าได้5ปี ยังไม่ทันสามปีเปื่อยหมดแล้ว อันนี้ลูกค้าเล่านะ รอบนี้เขาจะออกรถใหม่ยังไงก็ต้องเป็นผมจึงติดต่อผมมาอีกครั้ง และรอผมประมาณ1เดือน จึงมาส่งงานได้ แถมบ้านก็อยู่ระแวกสาย3 ใกล้กันอีก เลยฝากถามทางลูกชาย คุณพ่อเห็นงานแล้วว่าไงบ้างครับ คุณพ่อบอกใหญ่ดีใช้สะดวก ดีกว่ากันเยอะ โอเคร สบายใจ รู้สึกจะให้ผมทำผ้าคลุมโครงอันนั้นใหม่ โหความรู้สึกนะเดินเฉียดยังไม่ปรายตามองเลย ก็เลยไม่ได้ให้คำตอบอะไร เงียบๆอยู่
แต่ๆๆๆ หลังนี้คือthe legend ก็ว่าได้ เป็นงานผ้า 4 layer กันร้อนโดยเฉพาะ ดูแดดสิ และจะทำให้แค่หลังเดียวด้วย ลูกค้าต้องการจอดกลางแจ้งในที่โล่งแจ้งอย่างที่เห็น ต้องการกันหนู เพิ่มออฟชั่นกันหนูรอบหลัง และต้องการให้เป็นข้างใสด้วย เลือกกันนานเลยครับ ว่าจะให้หันไปทางทิศชนิดเอาหลังคาสู้แสงได้พอดีเป๊ะ แต่ก็อย่าลืมว่า ทุกปี แกนโลกมันมีการบิดตัวนะ ทิศทางของแสงจึงไม่เหมือนเดิมจะเพี้ยน45องศาในแต่ละปี อันนี้ก็สุดวิสัยล่ะ ต้องนี้ต้องบิดเต็นท์ตาม แต่เราก็จะทำหน้าที่กันความร้อนช่วงหลังคาให้ดีที่สุด แดดอาจจะทะแยงๆมาบ้าง ช่างมัน หน้าต่างด้านหลังดีไซน์ไว้ขนาด 2เมตรโน่น โฟร์ลมร้อนออกไปสบายๆ
นี่ลดความสั้นลงไปเยอะนะ ยาวเต็มที่ของหลังนี้ 6.85เมตรครับ ดีไซน์ให้ใส่รถจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้านได้ เห็นชอบใช้ พวกกระบะf150ทำนองนั้น แต่หลังนี้ยาวกว่านี้จะเกินท่อระบายน้ำ เลยทำให้พอดีแต่ขนาดนี้ก็สวยอลังการใครเห็นก็ชม
เปิดใช้งานแบบนี้ กลางแจ้งแบบนี้ก็กระดกไว้ได้เลย ฝนตกมาก็ไม่กลัว ไม่เก็บกักน้ำฝน น้ำจะไหลออกตามรอยพับ เพราะคานหลังคาโค้งพิเศษ 45องศาสวยๆกันไปเลย แถมเพิ่มออฟชั่นกันหนูรอบหลังเห็นแผ่นดำๆมั้ยครับ เห็นเทคนิคการยกผ้าไม่ให้โดนหลังคารถมั้ยครับ มีแต่ผมเท่านั้นนะ ทำตั้งแต่ปี2556ถ้าเห็นใครทำแบบนี้ก็เรียกไอ้ขี้ก๊อปได้เลย
เห็นความพอดีมั้ยครับ ข้างใสแบบนี้ สวยขนาดนี้ ใครจะไปทนไหว คุณแม่ยึดไปเรียบร้อยแล้วอ่าว แล้วกัน ไม่เป็นไร มีแผนสอง สร้างใหม่อีกหลัง หลบไปอยู่ตรงโน้นแล้วกัน ปลีกตัวไปเงียบๆ ลดความสวยลงหน่อย เน้นกันที่ฟังชั่นล้วนๆ เห็นเสาหลังคามั้ยครับ นั่นก็ลดความกว้างลงเพื่อเตรียมสั่งอีกหลังคู่กัน บ้านนี้รถเยอะและหนูเยอะด้วย เต็นท์ผมป้องกันได้
เป็นไงบ้างเต็นท์ทรงcave ของเรา กิมมิคที่ไม่เหมือนใครชายผ้าปรกพื้นและยกขึ้นเหนือล้อได้ แถมสอดท่อได้อีก หาอะไรทับกันเหนียวก็ได้ นี่ก็เจ้าแรกเหมือนกัน แต่ก็กันหนูได้อย่างดีเลยนะ ลูกค้าเฟิร์มแล้ว ดงหนูก็จริงแต่ไม่มีปัญหา หลังนี้คือรุ่นกว้าง 3.1 เมตรนะครับ แต่อนาคตทางลูกค้าต้องการให้ล๊อกนี้ใส่ได้2หลัง จึงลดขนาดเหลือ 2.8 ไว้เรียบร้อยแล้ว อนาคตสั่งอีกก็ตั้งข้างๆกันได้เลย เวลาสั่งเต็นท์กับผม ผมจะถามลูกค้าเสมอครับ นั่นคือการวางแผนล่วงหน้า จะได้ไม่เสียของไม่เสียพื้นที่ ประตูหน้าเราก็เหมือน พิชซ่าเลย ลูกค้าเลือกหน้าได้ตามชอบ หน้านี้ผมเรียก ยักษ์ตาเดียว แต่ก่อนมี 2 เขี้ยว ตอนนี้มี 3เขี้ยว ปากใหญ่อ่ะ สองเขี้ยวไม่พอ และก็มีหน้ายิ้ม
อ่ะโม้มาพอควรล่ะ โม้ต่ออีกหน่อย กันร้อนได้ดียังไม่พอ ต้องโครงสร้างที่ทนต่อลมฝนด้วยเพราะนี่คือเต็นท์กลางแจ้ง จะมาใช้อุปกรณ์ห่วยๆไม่ได้ เจอเข้ากับพายุฝนพอดี ไม่ได้ปิดนะ เปิดให้ลมมันตีเข้ามาไม่มีกระดิก
ที่จริงยังมีรุ่นอื่นๆที่เพิ่มออฟชั่นผ้ากันร้อนนะครับ แต่ไล่ดูในเพจแทนแล้วกัน ในบทความนี้พูดคร่าวๆประมาณนี้พอแล้ว น่าจะเข้าใจเรื่องการกันร้อนด้วยฉนวนในแบบต่างๆ กันไปแล้ว ต่อไป เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่อง การควบแน่นกันนะครับ ภาษาอังกฤษ condense ให้นึกภาพ แก้วน้ำที่ใส่น้ำแข็งใสๆธรรมดา กับแก้วน้ำเก็บความเย็น/ความร้อนใบล่ะ1000up พอเข้าใจมั้ยครับ แก้วที่ไม่มีฉนวนจะมีหยดน้ำ แก้วที่มีฉนวนจะไม่มีหยดน้ำ พอนึกออกนะ
ความแตกต่างกันทางด้านอุณหภูมิภายนอกและภายใน มีผลกับการควบแน่นเกิดขึ้นได้ในทุกสรรพสิ่ง ในรถยนต์ก็เกิดฝ้าไงครับ ฝ้าก็เป็นการเริ่มต้นของการเกิดหยดน้ำ แต่กับวัสดุทึบเราจะไม่ทันสังเกต แต่กระจกรถเรามองเห็น เต็นท์จอดรถก็หนีปัญหานี้ไม่พ้นเช่นกัน
หรือมีใครเคยไปออกทริปกางเต็นท์กลางป่ามั้ย ตื่นเช้ามา หยดน้ำเกาะเต็มหลังคาด้านในเลย ผ้าเต็นท์เองก็กันน้ำ ไม่ได้รั่ว แต่มันเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิภายนอกและภายในไงครับ ความร้อนเกิดจากร่างกายเรา ยิ่งนอนในเต็นท์กันหลายๆคน 5คนขึ้นไปจะเห็นชัด ภายในเต็นท์มีความร้อนสะสมเกิดขึ้น ด้านนอกเย็น ด้วยน้ำค้างด้วยต้นไม้ใบหญ้า ผ้าเต็นท์ก็เหมือนกับแก้วน้ำ จึงเกิดการควบแน่นและเกิดหยดน้ำขึ้น
เต็นท์รุ่นผ้าธรรมดาผมก็เป็น ไม่ใช่ไม่เป็น แต่ก็ไม่ใช่จะเกิดกับทุกหลัง ยกตัวอย่างของลูกค้าท่านนึงครับ เป็นโรงงานผลิตขนมในจังหวัดระยอง ส่งรูปมาให้ชมในวันที่ฝนตกหนัก เป็นเต็นท์หลังนี้ ใช้ผ้าใบกันลดร้อนทูโทน กันuvอย่างดี ตั้งอยู่ในโรงรถ ฝนไม่ได้สาดเข้ามาแต่ทำไมน้ำซึมเต็มด้านในเลย เป็นไปได้อย่างไร
นี่แค่รั้วหลังบ้านนะครับ ดูความป่า ในโรงงานมีต้นไม้ใหญ่และรอบโรงงานมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมโดยรอบ
ซึ่งแน่นอนเรายืนยันได้ว่า ผ้าใบ2สีทูโทนน้ำไม่ซึม หรือมีรอยรั่วแต่อย่างใดครับ แต่นี้คือการcondense เป็นความแตกต่างของอุณหภูมิด้านนอกและด้านในที่ต่างกัน
ซึ่งกรณีแบบนี้ อาจเกิดได้จากหลายกรณี ประเด็นแรกภายนอกเป็นโรงงานที่มีความป่าชุกอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ใหญ่มาก ฝนตกจึงเย็นกว่าปกติ และก็อย่าลืมว่า อากาศมีไนโตเจนมากกว่าครึ่ง การที่ฝนตกแต่ละครั้งจะนำพาไนโตรเจนลงมาด้วย และไนโตรเจนมีความเย็นนะครับ รวมกับในพื้นที่ป่าแบบนี้อุณหภูมิจึงเย็นกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการcondense ขึ้น พื้นที่อื่นอาจจะไม่เกิดปัญหานี้นะครับ สาเหตุต่อมาเพิ่งจอดรถดับเครื่อง อุณหภูมิภายในเต็นท์จึงอุ่นกว่าภายนอก อยู่ดีๆฝนตกหนักมาก จึงทำให้เกิดการcondense แบบนี้ หรือมีแสงแดดส่องเข้ามาตลอดรถและเต็นท์ได้เก็บอุณหภูมิไว้สูงภายในเต็นท์เมื่อฝนตกหนักความเย็นที่เกิดขึ้นจึงเกิดการ condenseและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ครับ นี่ครับคือการcondense หรือการควบแน่น จนเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เต็นท์ไม่มีทางรั่วได้ทั้งหลังแบบนี้แน่นอน เพราะนี่คือผ้าใบสองด้านประกบกับเส้นใยไฟเบอร์ และเย็บซ้อนด้วยเทคนิคพิเศษ
แล้วจะมีพอจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาแบบนี้ได้อย่างไรเพื่อลดการเกิด condense การแก้ปัญหาคือการลดความต่างของอุณหภูมิครับ ทำได้โดยให้อุณหภูมิภายนอกและภายในใกล้เคียงกันครับ กดปุ่มลดฝ้าครับเอ้ยนั่นมันของรถ แต่ก็หลักการเดียวกันล่ะนะ โดยการเปิดหน้าต่างไว้เพื่อระบายความร้อนก่อนที่ฝนจะตก หรือการดับเครื่องยนต์แล้วเปิดเต็นท์ไว้เมื่อเครื่องยนต์เย็นจึงปิดเต็นท์ตามปกติ เพียงเท่านี้ ก็จะลดการเกิดcondense ได้อย่างดีแล้ว
แต่ถ้าหากไม่อยากเสียเวลากับขั้นตอนเปิดๆปิดๆดังกล่าวเลย ทางลูกค้าสามารถเพิ่มออฟชั่นผ้ากันร้อน 3 layer เพิ่มเติมได้ครับ ไม่ว่าจะฤดูไหน การcondense ก็ไม่เกิดขึ้น
นี่คือความแตกต่างของเราชาว protect plus ครับ
Comments